วันอาทิตย์ที่ 10 เมษายน พ.ศ. 2559

บริษัท มิสลิลลี่ฟลาวเวอร์ จำกัด

           

บริษัท มิสลิลลี่ฟลาวเวอร์ จำกัด


เสนอ

อาจารย์ นพศักดิ์            ตันติสัตยานนท์


จัดทำโดย

รหัส 2571031441324 นางสาว ศิวพรรณ มัธยมสุข






รหัส 2571031441337  นางสาว   ธีราภรณ์   เมืองถาวร


คณะอุตสาหกรรมและเทคโนโลยี สาขาวิชาเทคโนโลยีสารสนเทศ
มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลรัตนโกสินทร์ วิทยาเขตวังไกลกังวล








มิสลิลลี่ฟลาวเวอร์




ประวัติ บริษัทมิสลิลลี่ฟลาวเวอร์
          ดอกไม้ มิสลิลลี่ ก่อตั้งเมื่อปี พ.ศ. 2541 จัดส่งไปยังทุกที่ทั่วไทย ธุรกิจของเราเป็นธุรกิจอีคอมเมิร์ซที่ถือได้ว่าเป็นผู้บุกเบิกในอุตสาหกรรมออนไลน์ของประเทศไทย ตลอดเวลาที่ผ่านมา มิสลิลลี่ได้พัฒนาโปรแกรม ตั้งแต่เริ่มทำธุรกิจด้วยทีมงานโปรแกรมเมอร์ของเราเอง โดยใช้ฐานข้อมูลของ Oracle ซึ่ง ณ เวลานั้นถือได้ว่าเป็นระบบฐานข้อมูลขนาดใหญ่และมีประสิทธิภาพที่สุด แม้กระทั่งในปัจจุบัน ซึ่งถูกใช้โดยองค์กรขนาดใหญ่ เช่น ธนาคาร บริษัทประกันภัย หน่วยงานรัฐบาล เป็นต้น ต่อมาปี พ.ศ. 2544 ร้านดอกไม้ มิสลิลลี่ ได้หันมาใช้ฐานข้อมูล PostgreSQL ซึ่งเป็นฐานข้อมูลระบบเปิด (Open source) ที่มีประสิทธิภาพใกล้เคียงกับ Oracle ในยุคนั้น จนกระทั่งปี พ.ศ. 2554 มิสลิลลี่ ได้ปรับปรุงระบบฐานข้อมูลมาเป็น MySQL ซึ่งทำให้มีการพัฒนาระบบได้รวดเร็วและมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น ทั้งนี้เพราะ MySQL มีโปรแกรมเมอร์อิสระทั่วโลกเข้ามาช่วยในการพัฒนาอย่างรวดเร็ว มิสลิลลี่ จึงเป็น ดอกไม้ บริการ ส่งดอกไม้ ที่มีโปรแกรมจัดการฐานข้อมูลขนาดใหญ่ที่ทันสมัย และสามารถขยายโปรแกรมรองรับเครือข่าย สู่ภูมิภาคนี้ในอนาคตได้เทียบเท่าธุรกิจขนาดใหญ่
         ดอกไม้ มิสลิลลี่ ได้พัฒนาทฤษฎีการจัดดอกไม้ขึ้นมาเป็นของตัวเอง ชื่อ “Raybana” เรย์บาน่า ซึ่งเป็นทฤษฎีใหม่ สามารถทำให้นักออกแบบของมิสลิลลี่คิดค้นรูปแบบได้ใหม่ที่ไม่ซ้ำของ ร้านดอกไม้ อื่น จึงทำให้มิสลิลลี่มีการจัดดอกไม้ ที่เป็นเอกลักษณ์รูปแบบของตัวเอง ประกอบไปด้วย ความเป็นธรรมชาติ กลมกลืนกับรูปแบบ สีสันที่หลากหลายให้ลูกค้าเลือก มีทั้งแบบ แจกันดอกไม้ กระเช้าดอกไม้ ช่อดอกไม้ ดอกไม้สด ดอกไม้ประดับโต๊ะ พวงหรีด เป็นต้น ร้านดอกไม้ มิสลิลลี่ จึงมีแบบต่างๆ ให้เลือกมากกว่า แบบ และยังเพิ่มขึ้นอีกตลอดเวลา

ระบบรักษาความปลอดภัยในการสั่งซื้อของมิสลิลลี่
            มิสลิลลี่ ได้คำนึงถึงระบบความปลอดภัยในการชำระค่าสินค้าและบริการของมิสลิลลี่บนเว็บไซต์ ดังนั้น การรับคำสั่งซื้อ และการชำระค่าสินค้า จะอยู่ภายใต้ระบบความปลอดภัยของ SSL (Secured Socket Layer) ซึ่งเป็นระบบรักษาความปลอดภัยมาตรฐานที่ได้รับการยอมรับทั่วโลก คุณสามารถสังเกตหน้าเว็บที่ใช้ระบบ SSL ได้จากการดูที่ URL ถ้าขึ้นต้นด้วย https:// (มีตัว s ตามหลัง http) แสดงว่าหน้านั้นมีระบบรักษาความปลอดภัย SSL และมั่นใจได้ว่าข้อมูลของคุณจะไม่รั่วไหล คุณจึงสามารถสั่งดอกไม้ของมิสลิลลี่ได้อย่างสบายใจ
ระบบการชำระเงินด้วยบัตรเครดิตของมิสลิลลี่ ใช้ระบบของธนาคารกรุงเทพ ซึ่งเป็นระบบที่มีการรักษาความปลอดภัยที่ได้มาตรฐาน และเชื่อถือได้

บทบาทและหน้าที่ของแต่ละแผนกในบริษัท

1.  แผนกบัญชี
การจัดทำเงินและบัญชี จัดเป็นงานสนับสนุนที่สำคัญของส่วนราชการต่าง ๆ เพื่อให้ การปฏิบัติงานเป็นไปตามแผนงาน หรือนโยบายที่กำหนดไว้ อย่างมีประสิทธิภาพ และประสิทธิผลของการปฏิบัติงานด้านต่าง ๆ ได้มีหน้าที่ ในการบันทึกและดูแลจัดเตรียม เช็คสั่งจ่าย การรับเงิน การจัดเก็บเงิน การนำเงินฝากธนาคาร รวมทั้งการตรวจสอบความถูกต้อง เงินฝากธนาคารมีหน้าที่รับผิดชอบในการตรวจสอบความถูกต้องครบถ้วนของการบันทึกรายการ การจัดทำรายงานทางการเงินและบัญชี และการจัดเก็บเอกสารทางบัญชี

ปัญหาของแผนกบัญชี
     1.  เอกสารต่าง ๆ มีจำนวนมาก 
     2.  ค้นหาเอกสารได้ยาก  เนื่องจากเอกสารมีจำนวนมากและยังจัดเก็บ
    ไม่เป็นระบบ                    
     3. เอกสารสูญหายเพราะ เอกสารมีมาก และจัดเก็บไม่เป็นระเบียบ                    อาจจะทำให้เกิด ความเสียหายต่อบริษัทได้
       4.  การทำงบประมาณการเงินทำได้ยาก เพราะเอกสารมีจำนวนมาก                 และ จัดเก็บไม่ เป็นระเบียบ
      5. การอนุมัติงบประมาณเป็นไปอย่างล่าช้า 

    2.  แผนกคลังสินค้า
ระบบการจัดการคลังสินค้า เป็นระบบที่ช่วยจัดการสินค้าในสต๊อกสินค้าของบริษัทให้เป็นไปอย่างเป็นระบบ เช่น การจ่ายสินค้า การนำเข้าสินค้า การบริหารการใช้วัตถุดิบในการผลิต   สามารถรองรับการกำหนดคลังสินค้าได้จำนวนมากและแยกคลังได้หลายประเภทคลังสินค้าในแต่บริษัท สามารถรองรับทั้งสินค้าสำเร็จรูป วัสดุสิ้นเปลือง และวัตถุดิบสำหรับการผลิต และสามารถสร้าง สินค้าเป็นชุด เมื่อทำการขายหรือเบิกสินค้า

ปัญหาของแผนกคลังสินค้า 
                  1. ในการเช็คสต็อกอาจเกิดความผิดพลาดขึ้น  เนื่องจากสินค้าจัดเก็บ                อยู่หลายที่ทำให้ อาจลืมเช็คได้
                  2. ไม่รู้จำนวนที่แท้จริงของสต๊อกสินค้าที่อยู่ภายในคลัง
                  3. เอกสารสูญหายเพราะ เอกสารมีมาก และจัดเก็บไม่เป็นระเบียบ
                  4. การตรวจสอบทำได้อย่างล่าช้า
                  5. ปัญหา ไม่มีพนักงาน ที่รู้พื้น ที่เก็บสินค้า แต่ละชนิด ว่าอยู่ตรงไหน             ทำให้เกิดความ ล่าช้าได้
   
      3. แผนกการขาย
   มีหน้าที่ในการบริการจำหน่ายสินค้าให้กับลูกค้า  โดยแผนกขายจะมีการเก็บข้อมูลของลูกค้าที่มาสั่งซื้อ และข้อมูลการสั่งซื้อ เก็บข้อมูลการขายสินค้า

ปัญหาของแผนกการขาย
                  1. เนื่องจากสินค้ามีปริมาณมากทำให้กำหนด และวางแผนการตลาด                 ได้ยุ่งยาก
                  2. เอกสารสูญหายเพราะ เอกสารมีมาก และจัดเก็บไม่เป็นระเบียบ
                  3. การตรวจสอบสต๊อกในคลังสินค้าทำได้ล่าช้า
   
      4. แผนกจัดซื้อ
มีหน้าที่จัดซื้อวัตถุดิบ ชิ้นส่วนหรือวัสดุต่างๆที่หน่วยงานต้องการให้ตรงกับความต้องการทั้งในด้านปริมาณคุณภาพ และเวลา โดยให้มีต้นทุนค่าใช้จ่ายที่ต่ำที่สุด

ปัญหาของแผนกจัดซื้อ
1.  ไม่ทราบราคาของวัตถุดิบที่ใช้ในการผลิตไม่แน่นอน
2.  เวลาในการสั่งของสินค้าและได้รับนั้น ไม่ตรงตามระยะเวลาที่กำหนด
3.  เอกสารที่ใช้ในการสั่งซื้ออาจสูญหายได้ เนื่องจากการจัดเก็บข้อมูลไม่             เป็นระเบียบ
4.  การค้นหาเอกสารอาจจะได้ยาก

     5.  แผนกจัดส่งสินค้า
        มีหน้าที่ในการจัดส่งสินค้าไปให้ลูกค้าหรือผู้บริโภค  โดยรับสินค้าจากแผนกคลังสินค้า

ปัญหาของแผนกจัดส่งสินค้า
1.  เอกสารข้อมูลสินค้ามีจำนวนมาก  เนื่องจากสินค้ามีหลายชนิดและหลายขนาด  ทำให้การจัดเก็บเอกสาร ไม่เป็นระเบียบ
2.  เปลืองพื้นที่ในการจัดเก็บแฟ้มเอกสาร  เพราะเอกสารทุกชนิดจะจัดเก็บภายในแฟ้ม
        ค้นหาเอกสารข้อมูลสินค้าได้ยาก  เนื่องจากเอกสารมีจำนวนมากและยังจัดเก็บไม่เป็นระบบ
3.  ถ้าข้อมูลสูญหายจะทำให้ไม่สามารถไปจัดส่งสินค้าให้กับลูกค้าได้     อาจทำให้  ลูกค้าไม่พอใจ
4.  ระยะเวลาในการจัดส่งสินค้าให้ลูกค้าอาจใช้เวลานานเนื่องจากต้องมีการค้นหาข้อมูลลูกค้าก่อน
5.   ข้อมูลมีความแตกต่าง  เช่น  ลูกค้ามีที่อยู่หลายที่ทำให้ไม่สามารถทราบได้ว่าจะจัดส่งสินค้าให้ที่ไหน

ปัญหาระหว่างแผนก

ปัญหาระหว่างแผนกบัญชีกับแผนกซื้อ
1.   การอนุมัติสั่งซื่อล่าช้าทำให้ฝ่ายจัดซื้อเสียเวลาในการหาอุปกรณ์
2.   ต้นทุนในการซื้อสินค้าในการขนส่งสูง รายได้ต่ำ
  3.   ฝ่ายจัดซื้อไม่แจ้งจำนวนเงินในการจำหน่ายสินค้าให้ฝ่ายบัญชีและการเงินทราบทำให้ฝ่ายบัญชีและการเงินไม่สามารถจัดทำงาบประมาณการเงินได้

ปัญหาระหว่างแผนกบัญชีกับแผนกขายสินค้า
            1.  ในกรณีที่แผนกขายทำเอกสารในการขายสินค้าสูญหาย แผนกบัญชีจะไม่  ทราบยอดการขายสินค้า
          2.  ในกรณีที่แผนกขายทำเอกสารใบเสร็จ ของลูกค้าสูญหายแผนกบัญชีก็จะไม่ทราบว่า ลูกค้าจ่ายเงินหรือยัง
          3.  ในกรณีที่แผนกขายได้ขายสินค้าไปโดยไม่ได้แจ้งให้แผนกบัญชีทราบจะ ทำให้ยอดขาย กับยอดการเงินไม่เท่ากัน

ปัญหาระหว่างแผนกคลังสินค้ากับแผนกซื้อ
                            1.   แผนกซื้อสินค้าจะไม่รู้ว่าในแผนกคลังสินค้ามี สต๊อกสินค้าเหลือมากหรือน้อยเท่าไร
                            2.   แผนกซื้อสินค้าจะไม่รู้ว่าควรมีการสั่งซื้อสินค้าจำนวนเท่าไรมาไว้ในคลัง สินค้า ปัญหาระหว่าง
           
ปัญหาระหว่างแผนกขายสินค้ากับแผนกคลัง
          1.   หากแผนกขายไม่มีเอกสารการสั่งซื้อสินค้าของลูกค้าทำให้ฝ่ายคลังสินค้าไม่ สามารถตรวจสอบสินค้าได้
          2.   ถ้าแผนกคลังสินค้าไม่ทราบยอดสินค้า ทำให้เมื่อแผนกขายจะขายสินค้าก็จะไม่ทราบว่ามีสินค้าจำนวนเพียงพอหรือไม่

ปัญหาระหว่างแผนกขายสินค้าแผนกจัดส่งสินค้า
                           1.   หากแผนกขายไม่มีเอกสารข้อมูลของลูกค้าทำให้ฝ่ายส่งสินไม่สามารถ ตรวจสอบ ข้อมูลขอลูกค้าได้
                           2.   ถ้าแผนกขายทำเอกสารการสั่งซื้อสินค้าของลูกค้าหายจะทำให้แผนกจัดส่งสินค้าไม่  ทราบว่าจะส่งสินค้าให้กับลูกค้าไม่ได้

ปัญหาระหว่างแผนกคลังสินค้ากับแผนกจัดส่งสินค้า
                          1.   ถ้าแผนกคลังสินค้าไม่ทราบยอดสินค้า  ว่ามีพอสำหรับการจัดส่งสินค้าหรือไม่  แผนก จัดส่งสินค้าก็อาจจะไม่มีสินค้าไปจัดส่งให้กับลูกค้า
                          2.   หากเอกสารในการจัดส่งสินค้าสูญหาย แผนกคลังสินค้าก็จะไม่สามารถรู้จำนวนสิค้าที่จะจัดส่ง
                  ปัญหาทั้งหมดและระบบแก้ไขปัญหา
         
                             1. ในการเช็คสต็อกอาจเกิดความผิดพลาดขึ้น  เนื่องจากสินค้าจัดเก็บอยู่หลายที่ทำให้อาจลืมเช็คได้
               
                             2.  ไม่รู้จำนวนที่แท้จริงของสต๊อกสินค้าที่อยู่ภายในคลัง

                             3.   เอกสารสูญหายเพราะ เอกสารมีมาก และจัดเก็บไม่เป็นระเบียบ

                             4.   การตรวจสอบทำได้อย่างล่าช้า

                             5.  ปัญหา ไม่มีพนักงาน ที่รู้พื้น ที่เก็บสินค้า แต่ละชนิด ว่าอยู่ตรงไหน ทำให้เกิดความล่าช้าได้
                
                             6.   เนื่องจากสินค้ามีปริมาณมากทำให้กำหนด และวางแผนการตลาดได้ยุ่งยาก

                             7.   การตรวจสอบสต๊อกในคลังสินค้าทำได้ล่าช้า

                             8.   ไม่ทราบราคาของวัตถุดิบที่ใช้ในการผลิตไม่แน่นอน

                             9.    เวลาในการสั่งของสินค้าและได้รับนั้น ไม่ตรงตามระยะเวลาที่กำหนด

                            10.  เอกสารที่ใช้ในการสั่งซื้ออาจสูญหายได้ เนื่องจากการจัดเก็บข้อมูลไม่เป็น ระเบียบ
                            11.  เอกสารข้อมูลสินค้ามีจำนวนมาก  เนื่องจากสินค้ามีหลายชนิดและหลายขนาด  ทำให้การจัดเก็บเอกสาร     ไม่เป็นระเบียบ
                            12 .  เปลืองพื้นที่ในการจัดเก็บแฟ้มเอกสาร  เพราะเอกสารทุกชนิดจะจัดเก็บภายในแฟ้ม
                            13.  ค้นหาเอกสารข้อมูลสินค้าได้ยาก  เนื่องจากเอกสารมีจำนวนมากและยังจัดเก็บไม่เป็นระบบ
                            14.  ถ้าข้อมูลสูญหายจะทำให้ไม่สามารถไปจัดส่งสินค้าให้กับลูกค้าได้     อาจ ทำให้ลูกค้าไม่พอใจ
                            15.  ระยะเวลาในการจัดส่งสินค้าให้ลูกค้าอาจใช้เวลานานเนื่องจากต้องมีการค้นหาข้อมูลลูกค้าก่อน
                            16. ข้อมูลมีความแตกต่าง  เช่น  ลูกค้ามีที่อยู่หลายที่ทำให้ไม่สามารถทราบได้ ว่าจะจัดส่งสินค้าให้ที่ไหน
                            17.   การอนุมัติสั่งซื่อล่าช้าทำให้ฝ่ายจัดซื้อเสียเวลาในการหาอุปกรณ์
                            18.   ต้นทุนในการซื้อสินค้าในการขนส่งสูง รายได้ต่ำ
                            19.  เอกสารต่าง ๆ มีจำนวนมาก 
                            20.  ค้นหาเอกสารได้ยาก  เนื่องจากเอกสารมีจำนวนมากและยังจัดเก็บไม่เป็นระบบ
                            21.  เอกสารสูญหายเพราะ เอกสารมีมาก และจัดเก็บไม่เป็นระเบียบ อาจจะทำให้เกิดความเสียหายต่อบริษัทได้
                            22.  การทำงบประมาณการเงินทำได้ยาก เพราะเอกสารมีจำนวนมากและจัดเก็บไม่เป็นระเบียบ5.  การอนุมัติงบประมาณเป็นไปอย่างล่าช้า
                            23.  มีเอกสารเป็นจำนวนมาก อาจสูญหายได้
                            24.  ฝ่ายจัดซื้อไม่แจ้งจำนวนเงินในการจำหน่ายสินค้าให้ฝ่ายบัญชีและการเงิน ทราบ ทำให้ฝ่ายบัญชีและการเงินไม่สามารถจัดทำงาบประมาณการเงินได้
                           25.  ในกรณีที่แผนกขายทำเอกสารในการขายสินค้าสูญหาย แผนกบัญชีจะไม่ทราบยอดการขายสินค้า
                           26. ในกรณีที่แผนกขายทำเอกสารใบเสร็จ ของลูกค้าสูญหายแผนกบัญชีก็จะไม่ทราบว่าลูกค้าจ่ายเงินหรือยัง
                           27. ในกรณีที่แผนกขายได้ขายสินค้าไปโดยไม่ได้แจ้งให้แผนกบัญชีทราบจะ ทำให้ยอดขายกับยอดการเงินไม่เท่ากัน
                          28.  แผนกซื้อสินค้าจะไม่รู้ว่าในแผนกคลังสินค้ามี สต๊อกสินค้าเหลือมากหรือ น้อยเท่าไร
                          29.  แผนกซื้อสินค้าจะไม่รู้ว่าควรมีการสั่งซื้อสินค้าจำนวนเท่าไรมาไว้ในคลังสินค้า               
                          30.  หากแผนกขายไม่มีเอกสารการสั่งซื้อสินค้าของลูกค้าทำให้ฝ่ายคลังสินค้าไม่สามารถตรวจสอบสินค้าได้
                          31.  ถ้าแผนกคลังสินค้าไม่ทราบยอดสินค้า ทำให้เมื่อแผนกขายจะขายสินค้าก็จะไม่ทราบว่ามีสินค้าจำนวนเพียงพอหรือไม่
                         32.  หากแผนกขายไม่มีเอกสารข้อมูลของลูกค้าทำให้ฝ่ายส่งสินไม่สามารถตรวจสอบข้อมูลขอลูกค้าได้
                         33.  ถ้าแผนกขายทำเอกสารการสั่งซื้อสินค้าของลูกค้าหายจะทำให้แผนกจัดส่งสินค้าไม่ทราบว่าจะส่งสินค้าให้กับลูกค้าไม่ได้
                         34.  ถ้าแผนกคลังสินค้าไม่ทราบยอดสินค้า  ว่ามีพอสำหรับการจัดส่งสินค้าหรือไม่  แผนกจัดส่งสินค้าก็อาจจะไม่มีสินค้าไปจัดส่งให้กับลูกค้า

                        35.  หากเอกสารในการจัดส่งสินค้าสูญหาย แผนกคลังสินค้าก็จะไม่สามารถรู้จำนวนสิค้าที่จะจัดส่ง
           
             วัตถุประสงค์ในการพัฒนาระบบ
ในการพัฒนาระบบฝ่ายขายมีวัตถุประสงค์ของการดำเนินงานเพื่อวิเคราะห์ออกแบบและพัฒนาให้เป็นระบบที่สามารถตอบสนองความต้องการของผู้ใช้ได้

ขอบเขตของระบบ
       1. ระบบมีการป้องกันข้อมูลในเครือข่ายคอมพิวเตอร์
       2. ระบบจะต้องแบ่งการทำงานแต่ละส่วนอย่างชัดเจนแต่ข้อมูลสามารถเชื่อมโยงกันได้
       3. ระบบจะต้องรองรับการทำงานแบบ Multi-User ได้
       4. ระบบจะต้องใช้งานง่ายและสะดวก

ประโยชน์ที่จะได้รับจากระบบใหม่
            1.ไม่มีการทำงานที่ซ้ำซ้อน
          2. ทุกแผนกสามารถใช้ข้อมูลร่วมกันได้
          3. การท างานของแผนกฝ่ายขายจะมีประสิทธิภาพมากขึ้น
          4. สามารถประมวลผลรายการธุรกรรมและติดตามรายการสั่งซื้อสินค้าได้
         ขั้นตอนที่ 1

                  การค้นหาและเลือกสรรโครงการและการประเมินความต้องการของบริษัท



                ตารางแสดงรายการการทำงาน (Functions) หรือกิจกรรมทั้งหมดของบริษัท
ตารางที่  1 แสดงความสัมพันธ์ระหว่างหน้าที่และหน่วยข้อมูลที่เกี่ยวข้อง


        แสดงการจำแนกกิจกรรม (Activities) ของหน้า ที่การทำงาน (Functions) ในบริษัท


แสดงความสัมพันธ์ระหว่างหน้าที่และข้อมูลที่เกี่ยวข้อง


ขั้นตอนที่ 2
การเริ่มต้นและวางแผนโครงการ

การกำหนดความต้องการของระบบ
โครงการในขั้นตอนที่ผ่านมาและได้มีการเก็บรวบรวมข้อมูลในเบื้องต้นเพื่อค้นหาปัญหาที่เกิด
ขึ้นมาบ้างแล้วนั้น ในขั้นตอนการวิเคราะห์ระบบจึงเริ่ม ต้นด้วยการเก็บรวบรวมข้อมูล
เพิ่มเติม เพื่อแก้ปัญหาที่เกิดขึ้น
ปัญหาที่พบจากระบบเดิม
1. แผนกฝ่ายขายกำหนดราคาสินค้าลำบากเนื่องจากสินค้ามีจำนวนมาก
2. ระบบไม่สามารถวิเคราะห์การขายได้
3. มีสินค้าใหม่ๆ เพิ่มขึ้น แต่ไม่มีชื่อสินค้าอยู่ในแผนกขาย
ความต้องการในระบบใหม่
1. สามารถเรียกดูข้อมูลสินค้าที่มีอยู่จริงในคลัง
2. สามารถแก้ไข หรือปรับปรุงข้อมูลราคาสนิค้าได้
3. สามารถคำนวณราคาสนิค้าได้โดยอตัโนมัติและแสดงรายงานได้
4. สามารถกำหนดกลุ่มลูกค้าและกลุ่มตลาด
5. ทุกแผนกสามารถใช้ข้อมูลร่วมกันได้
6. สามารถสืบค้นข้อมูลสินค้าได้ตามเงื่อนไขที่ต้องการ
7. เพิ่มประสิทธิภาพในการท างานของฝ่ายขายและการตลาด
8. การจัดทำรายงานมีความสะดวกและรวดเร็วยิ่งขึ้น
ประโยชน์ที่คาดว่าจะได้รับ
1.  การทำงานจะมีความสะดวกและรวดเร็วกว่าระบบงานเดิม
2.  ไม่เกิดการซ้ำซ้อนของข้อมูลเพราะมีการจัดการ จัดเก็บ ข้อมูลที่ดีกว่าเดิม
3.  สามารถแก้ไขปัญหาในด้านต่าง  ๆ ของแต่ละแผนกได้อย่างมีประสิทธิภาพ
4.  ข้อมูลที่ได้มีความถูกต้องและเชื่อถือได้ เพื่อลดความผิดพลาดในการทำงาน

ทีมงานผู้รับผิดชอบโครงการ         
1.นักวิเคราะห์และออกแบบระบบ  เป็นบุคคลที่มีความรู้ในเรื่องของการทำงานของระบบสารสนเทศที่นำมาใช้ทำหน้าที่ในการวิเคราะห์และออกแบบระบบตลอดจนเก็บรวบรวมข้อมูลและติดต่อประสานงานระหว่างผู้ใช้  พนักงานหรือทีมโปรแกรม  จำทำเอกสารของระบบรวมถึงการทดสอบโปรแกรมของระบบ    และอื่น ๆ   ที่เกี่ยวข้อง
2.โปรแกรมเมอร์ได้แก่เจ้าหน้าที่ที่มีความรู้ทางด้านคอมพิวเตอร์ 3 คน  ทำหน้าที่ในการเขียนและติดตั้งโปรแกรมของระบบที่ต้องการจะเปลี่ยนแปลง  รวมทั้งทดสอบโปรแกรมของระบบใหม่ 

ประมาณการใช้แหล่งทรัพยากร
            จากดังกล่าวเราอาจจะมีการแบ่งงานออกเป็นทีมหรือว่ามีการระบุหน้าที่ให้แต่ละฝ่ายหรือแต่ละคนทราบ เพื่อที่งานจะประสบผลสำเร็จ  ปัจจุบันทางบริษัทได้มีการใช้ระบบเครือข่าย  LAN  อยู่แล้วหรือเครือข่ายที่มีความเร็วสูงกว่านี้  มีรายละเอียดพอเข้าใจดังนี้
          1.  เครื่องแม่ข่าย(Server)                  จำนวน 5   เครื่อง
          2. เครื่องลูกข่าย(Workstation)        จำนวน 50   เครื่อง
          3.  เครื่องพิมพ์(Printer)                    จำนวน 15 เครื่อง
ปัจจุบันทางบริษัทได้นำเทคโนโลยีหลายอย่างมาใช้ในการบริหารงานซึ่งปัจจุบันมีรายละเอียดดังนี้
                1.   ระบบโปรแกรม  1  ระบบ
                2.   เครื่องคอมพิวเตอร์แม่ข่ายและลูกข่ายตามจำนวนที่บริษัทต้องการ
                3.   บุคลากรที่มีความรู้ความสามารถในการทำงานของโปรแกรม
                4.   อุปกรณ์อื่น ๆ ที่เกี่ยวข้องในการพัฒนาระบบ



          สรุปงบประมาณที่ใช้ในของแต่ละฝ่ายได้ดังนี้
                   1.  ในส่วนของผู้บริหาร
                               -  ค่าตอบแทนสำหรับทีมงานพัฒนา
                               - นักวิเคราะห์และออกแบบระบบโปรแกรมเมอร์    65000
                   2.  แผนกทุกแผนกที่มีการเปลี่ยนแปลงระบบ
                              -  ค่าการฝึกอบรมพนักงานใหม่เกี่ยวกับระบบใหม่     25000
                   3. การจัดซื้ออุปกรณ์ต่าง ๆ   
                  -  เครื่องคอมพิวเตอร์และโปรแกรมที่ใช้ในการลงระบบ       60000   
                  -  อื่น ๆ                                                                                  15000   
          ประมาณการใช้งบประมาณ
            จากรายการดังกล่าวเป็นเพียงการประมาณค่าใช้จ่ายคร่าวๆ  ที่ทางองค์กรจ่ายในการปรับปรุงระบบ   ซึ่งอาจจะมีค่าใช้จ่ายมากกว่านี้ที่ใช้เพราะในแต่ละองค์กรจะมีหลายแผนกในการทำงานและงานในแต่ละระบบจะมีขั้นตอนที่ซับซ้อนมาก  ดังนั้นค่าใช้จ่ายจึงไม่เท่ากัน
        
          ประมาณการระยะเวลาดำเนินงาน

ระยะเวลาในการดำเนินงานการวิเคราะห์ระบบของบริษัทบ้านสวนกาแฟ จำกัด  ที่ต้องการนำระบบมาใช้ในการทำงานในส่วนของระบบจัดการตารางเวลาเพื่อความสะดวกในส่วนของการทำงานภายในบริษัท ซึ่งก่อนที่จะได้เริ่มทำงานนั้นเราจะต้องใช้ระยะเวลาในการศึกษาถึงขั้นตอนต่าง ๆ  เป็นระยะเวลาประมาณ  5 เดือน  คือ เริ่มตั้งแต่มกราคม ถึง มิถุนายน  2554  ซึ่งสามารถแสดงรายละเอียดการดำเนินงานได้ดังนี้



        รายงานสรุปผลสำหรับผู้บริหาร

                จากการศึกษาปัญหาที่พบจากระบบเดิมของบริษัท ซี.พี.ค้าปลีกและการตลาด จำกัด ส่วนใหญ่บริษัทจะมีการนำเทคโนโลยีมาใช้แล้วบางส่วนแต่บางระบบก็ต้องการระบบที่มีประสิทธิภาพในการทำงานมากขึ้น ดังนั้นทางบริษัทจึงต้องมีการจัดทำระบบใหม่ขึ้น เมื่อเราทำการวิเคราะห์ระบบแล้วขั้นตอนต่าง ๆ ที่เราได้ทำก็จะจัดทำรายงานสรุปผลสำหรับผู้บริหารเพื่อให้ทราบขั้นตอนต่าง ๆ ที่เกี่ยวกับการวิเคราะห์ซึ่งจะมีขั้นตอนประกอบย่อย ๆเพื่อความเข้าใจง่าย 2 ด้านดังนี้
1. ความเป็นไปได้ทางด้านเทคนิค
                     ในส่วนนี้อาจจะเกี่ยวกับ ฮาร์ดแวร์ และซอฟต์แวร์ขอระบบเดิมว่ามีการใช้ส่วนใดบ้าง เช่น โปรแกรมสำเร็จรูปเพื่อใช้งานในด้านต่าง ๆ และอุปกรณ์อื่น ๆ
2. ความเป็นไปได้ทางด้านการปฏิบัติงาน
                  ทำการศึกษาด้านต่าง ๆ ในการปฏิบัติงานของผู้ใช้ของระบบใหม่ที่จะนำมาใช้กับบริษัท ซึ่งขั้นตอนนี้จะเกี่ยวกับการทดสอบ การทดลองของระบบว่าระบบใหม่นี้มีผลต่อการทำงานของบริษัทอย่างไรจากการทำงานของนักวิเคราะห์ระบบผลที่ได้ประสบผลสำเร็จระบบที่ได้เป็นที่ตรงตามความต้องการของบริษัท